สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา สมองประกอบด้วย สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา ทำงานพร้อม ๆ กัน แต่มีหน้าที่แตกต่างกัน มีบางเรื่องที่สมองซีกซ้ายเป็นผู้สั่งการอย่างเดียว หรือสมองซีกขวาสั่งการอย่างเดียว
สมองซีกซ้าย
ควบคุมและสั่งการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ความถนัดของเด็กในช่วงแรก ทำให้เกิดกำลัง แล้วทำให้เด็กสามารถรับความรู้สึก แล้วเปลี่ยนความรู้สึกเหล่านั้นจากสิ่งที่รับ จากภาพที่เห็น จากเสียงที่ได้ยินเป็นรูปธรรมต่าง ๆ ได้จะทำให้เด็กรู้ว่าสิ่งที่ตนสัมผัสเป็นอย่างไร มีรูปร่างอย่างไร สมองซีกซ้ายจะทำงานที่มีรูปร่าง หรือมีการเคลื่อนไหวเป็นฐาน และต้องมีรูปธรรมชัดเจน กล่าวคือ สมองซีกซ้ายจะทำให้เด็กพูดภาษาได้ ได้ยินเสียงและเข้าใจความหมายของภาษา การเขียน เข้าใจด้านคำนวณ วิทยาศาสตร์ ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นหลักการ ที่ต้องใช้เหตุผล สมองซีกขวา ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนามธรรม จริยธรรม ความถนัดด้านดนตรี การเต้นรำ ความถนัดด้านศิลปะ งานปั้น การสร้างจินตนาการคิดฝันเป็นเรื่องเป็นราวต่าง ๆ การรับรู้มโนทัศน์ การพัฒนาและกระตุ้นเด็กในช่วงเวลาต่าง ๆ มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองซีกทีเดียว เช่น หากในช่วงที่สมองซ้ายและขวา การเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของสมองซีกนี้ มีผลต่อการกำหนดอุปนิสัยใจคอของมนุษย์
หน้าต่างของโอกาส
นักวิทยาศาสตร์ช่วยให้เราทราบว่ามีบางเวลาสมองบางส่วนสามารถเรียนรู้เรื่อง ราวใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่าเวลาอื่น พวกเขาเรียกช่วงเวลาเหล่านี้ว่า “หน้าต่างของโอกาส” หน้าต่างบางบานจะเปิดและปิดสนิท ตั้งแต่ช่วงปีแรกของชีวิต ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงของเซลล์สมอง เกี่ยวกับการมองภาพ สมรรถภาพของการมองไปตลอดชีวิต ซึ่งก็หมายความว่า เด็กจะไม่สามารถมองเห็นได้อีกเลย แม้ว่าหน้าต่างบางบานอาจมีช่วงเปิดที่นานกว่า แต่การเรียนรู้บางอย่างจะเกิดขึ้นได้ง่ายที่สุด และอย่างเป็นธรรมชาติเฉพาะในบางเวลา เราเรียกช่วงเวลาเหล่านี้ว่าช่วงวิกฤติ ตัวอย่างเช่น ห้าปีแรก เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนภาษา แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเด็กจะเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับภาษาในช่วง 5 ปีแรก การเรียนรู้ยังคงเกิดขึ้นตลอดชีวิต แต่มีบางอย่างที่เด็กเรียนรู้ได้ง่ายกว่าในบางช่วงเวลา
|